ยินดีต้อนรับสู่...โลกของกฎหมายน่ารู้ กับ kruyam น.ส.เตชินี มุทุกันต์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กฎหมายบุคคล

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล




      บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด 
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล 
                         1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล 
                         2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ 
                         3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล 
                         4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า 
2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดาและมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด
      สภาพบุคคล เริ่มต้นตั้งแต่คลอดอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล 
       การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/502873.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น