ยินดีต้อนรับสู่...โลกของกฎหมายน่ารู้ กับ kruyam น.ส.เตชินี มุทุกันต์ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การตั้งชื่อ - ชื่อสกุล


การตั้งชื่อ ชื่อสกุล

การตั้งชื่อ – ชื่อสกุล
   “ชื่อตัว” และ “ชื่อสกุล” เป็นเครื่องกำหนดให้รู้ว่าบุคคลนั้นคือใคร มีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน และมีสถานะเป็นชายหรือหญิง เป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะ เป็นโสดหรือมีคู่สมรสแล้ว เป็นต้น ชื่อบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังปรากฏในพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่2 พ.ศ.2530) ที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อบุคคลไว้โดยเฉพาะ
ชื่อ คือ สิ่งที่แสดงให้ทราบว่าเป็นผู้ใด และปกติชื่อจะแสดงให้ทราบถึงเพศ ผู้เป็นเจ้าของชื่ออีกด้วย บุคคลหนึ่งอาจมีชื่อได้ 3 ชนิด กล่าวคือ
    1. ชื่อตัว หมายความว่า ชื่อประจำบุคคลแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นชื่อที่ตั้งมาตั้งแต่เกิด หรืออาจมาเปลี่ยนใหม่ภายหลังก็ได้
    2. ชื่อรอง หมายคามว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบแน่นอนว่าเป็นผู้ใด เพราบ่อยครั้งที่บุคคลมีชื่อตัวซ้ำกัน แต่คนไทยมักไม่นิยมตั้งชื่อรองกัน
    3. ชื่อสกุล หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล มีขึ้นเพื่อให้สามารถทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นเชื้อสายหรือเครือญาติใคร บุคคลอาจมีชื่อตัวซ้ำกันได้ หากมีชื่อสกุลประกอบอยู่ด้วย ย่อมสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลที่มีชื่อตัวซ้ำกันนั้นหมายถึงใคร

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
3. ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอน จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
4. ชื่อหนึ่งให้มีคำรวมกันไม่เกิน 5 พยางค์ (เดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3 พยางค์)
5. ต้องมีที่มาหรือความหมายที่ดี ซึ่งความหมายในที่นี้มิได้จำกัดเฉพาะที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเท่านั้น แต่ให้หมายรวมถึงพจนานุกรมที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และเป็นชื่อที่ตรงตามเพศของเจ้าของ เช่น หากเป็นผู้ชายไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่อ่านหรือฟังดูแล้วเข้าใจว่าเป็นเพศหญิง หากเป็นผู้หญิงก็ไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ชาย

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล
1. ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี
2. ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระราชทินนาม (เว้นแต่เป็นราชทินนามของตนหรือของบุพการีหรือผู้สืบสันดาน)
3. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว
4. ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
5. ไม่มีคำหรือความหมายที่หยาบคาย
6. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่เป็นการใช้พระราชทินนามเป็นชื่อสกุล ชื่อสกุลควรมีความหมายเหมาะสมตามหลักภาษาไทยด้วย

การใช้ชื่อสกุลของผู้หญิง
1. ผู้หญิงที่สมรสแล้วให้ใช้ชื่อสกุลของสามีหรือของตนเองได้
2. ผู้หญิงที่เป็นหม้ายโดยการหย่ากับสามี จะต้องกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเอง หรือใช้นามสกุลของสามีได้ หากได้รับการยินยอม
3. ผู้หญิงที่เป็นหม้ายโดยการที่สามีตาย จะยังคงชื่อสกุลของสามีหรือจะกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองก็ได้

การเปลี่ยนชื่อตัว
บุคคลที่ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล จะต้องยืนคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็จะอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรองหรือจดทะเบียนชื่อสกุลใหม่ได้ แล้วออกหนังสือมอบให้เก็บไว้เป็นหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือการจดชื่อทะเบียนใหม่ เพื่อใช้อ้างอิงหรือนำไปขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุลในเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ สมุดคู่ฝากเงินธนาคาร เป็นต้น

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอเปลี่ยนหรือบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา (กรณีที่เปลี่ยนชื่อให้บุตร)
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้ขอเปลี่ยนชื่อ

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงการขอเปลี่ยนชื่อสกุลกรณีสมรส
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. ใบสำคัญการสมรส





การย้ายที่อยู่




การแจ้งย้ายเข้า
   หลักเกณฑ์
-เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน       -หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
   เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
    4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
    5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
การแจ้งย้ายออก 
-เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้าน   ย้ายออก
-หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทไม่เกินหนึ่งพันบาท
    เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
    4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
    5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

การย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.bora.dopa.go.th/callcenter1548/

การแจ้งเกิด

การแจ้งเกิด



 สถานที่แจ้ง 
-  เด็กที่เกิดในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
เด็กที่เกิดนอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักงานทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่สำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร
***กำหนดเวลาการแจ้งเกิด  ต้องแจ้งชื่อของเด็กพร้อมแจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด


ผู้แจ้งและหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
-  ในกรณีเกิดในบ้าน
     ผู้แจ้ง คือ เจ้าบ้าน
     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและของบิดามารดาเด็ก 
     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด
-  ในกรณีเกิดนอกบ้าน     
     ผู้แจ้ง คือ มารดาเด็ก หรือผู้ได้รับมอบหมาย
     บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก
     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของมารดาเด็ก
     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมาย
-กรณีเกิดที่โรงพยาบาล 
     ผู้แจ้ง คือ บิดา หรือ มารดา หรือโรงพยาบาลที่ทำการตกลงกับสำนักงานเขตว่าจะเป็นผู้แจ้งให้ทราบ
     บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็ก และของผู้แจ้ง (กรณีที่บิดา มารดา ไม่สามารถไปแจ้งได้   ด้วยตนเอง)
     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กย้ายเข้า
     หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ(โรงพยาบาล)

*****ข้อควรระวัง  ถ้าไม่แจ้งภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://servicelink2.moj.go.th/phrae/index.php

การแจ้งตาย

การแจ้งตาย


สถานที่แจ้ง
     คนตายในเขตเทศบาลให้แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
     คนตายนอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักงานทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่         สำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร
*****กำหนดเวลาการแจ้งตาย  ต้องแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาที่พบศพ


ผู้แจ้งและหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
     กรณีคนตายภายในบ้าน
     ผู้แจ้ง คือ เจ้าบ้าน หรือผู้พบเห็น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
     บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือผู้แจ้ง และของผู้ตาย(ถ้ามี)
     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่
     หนังสือรับรองการตาย (ถ้าผู้ตายมีผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ)
     กรณีคนตายนอกบ้าน
     ผู้แจ้ง คือ ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ
     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือของผู้พบผู้ตายซึ่งเป็นผู้แจ้ง
     บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย(ถ้ามี) 
     สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ตาย  (ถ้ามี)
     กรณีตายที่โรงพยาบาล ซึ่งอยู่นอกท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่
     หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาลไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งที่โรงพยาบาลตั้งอยู่
     เพื่อขอให้ออกใบมรณบัตร
***ข้อควรระวัง  ถ้าไม่แจ้งหรือละเลยไม่สนใจที่จะแจ้งภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://servicelink2.moj.go.th/phrae/index.php



กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน

กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน 


คุณสมบัติของผู้มีบัตรประจำตัวประชาชน
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน 
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
-สำหรับผู้ที่มีบัตรประจำตัวประชาชนนั้น บัตรประจำตัวประชาชนใช้ได้ 6 ปี นับแต่วันออกบัตร ซึ่งในบัตรประจำตัว ประชาชนจะระบุวันที่ออกบัตรและวันที่บัตรหมดอายุไว้ เมื่อบัตรหมดอายุแล้วจะต้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 90 วัน นับแต่ วันที่บัตรหมดอายุ มิฉะนั้นจะมีความผิด              
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน
(1)  สมเด็จพระบรมราชินี
(2)  พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
(3)  ภิกษุ สามเณร นักพรตและนักบวช
(4)  ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใช้ หรือตาบอด ทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(5)  ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
(6)  บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
(7) ข้าราชการ
***** บุคคลที่ได้รับการยกเว้นข้างต้น  จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้ *****

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/502873.


กฏหมายมรดก

กฎหมายเรื่องมรดก

มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย 
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกมี 2 ประเภท 
1.ทายาทโดยธรรม ประกอบด้วย
     1.ผู้สืบสันดาน (บุตร)
     2.บิดามารดา
     3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
     4.พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
     5.ปู่ ย่า ตา ยาย
     6.ลุง ป้า น้า อา
     ทายาทมีเพียง 6 สำดับนี้เท่านั้น ห่างออกไปจากนี้ก็ไม่ใช่ทายาทและทายาทแต่ละลำดับใช่ว่าจะได้รับมรดกทุกลำดับ (ตราบใดที่ทายาทในลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่ ทายาทลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิรับมรดก)
เว้นแต่ กรณีที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ให้บิดามารดามีสิทธิรับมรดกเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตรคือบิดา 1 ส่วน มารดา 1 ส่วน

2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในทายาท  ลำดับ อาจเป็นบุคคลภายนอกที่ระบุไว้ในพินัยกรรมก็ได้  การเขียนพินัยกรรมสามารถทำด้วยตนเองหรือให้ทนายความช่วยจัดการก็ได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/502873.

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน


สิทธิตามกฎหมายแรงงาน 
 เวลาทำงาน
- ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 เวลาพัก
- ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
- นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้อง
ไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้
นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
 วันหยุดประจำสัปดาห์
- ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง
หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย) 
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ 
- งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งาน
อื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุด
ประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
- กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่
ประกาศกำหนด

 วันหยุดตามประเพณี 
- ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณี
ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี